Diary No. 13
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
Instructor trin jamthin
Monday, November 23 , 2558
Time 08.30 - 12.30 .
Knowlead (ความรู้ที่ได้รับ)
นำผลงานของตนเองมาตั้งโชว์
คุณครูให้นำผลงานที่สั่งไว้มาเเปะโชว์บนฝาผนังห้อง ซึ่งผลงานของเพื่อนด้วยดูจินตนาการของเพื่อนแต่ละคน
นำผลงานของตนเองมาตั้งโชว์
คุณครูให้นำผลงานที่สั่งไว้มาเเปะโชว์บนฝาผนังห้อง ซึ่งผลงานของเพื่อนด้วยดูจินตนาการของเพื่อนแต่ละคน
Adoption( การนำไปใช้)
ประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กในวิชาศิลปะให้เด็กได้มี จินตนาการในการสร้างผลงาน เเละลงมือทำด้วยตนเองได้อย่างมีคุณภาพ
classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
อากาศค่อนข้างเย็น เพื่อนคุยบ้างเล็กน้อย เพื่อนให้ความร่วมมือในฟังสิ่งที่คุณครูสอนอย่างตั่งใจ
Self-Assessment (ประเมินตนเอง) แต่งตัวเรียบร้อย มาไม่สาย
friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
มีกิจกรรมที่น่าสนใจ และคอยช่วยหลือเรื่องอุปกรณ์กับนักศึกษา เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้อย่างดี
Teacher-Assessment (ประเมินครู)
เเต่งกายสุภาพสอนเข้าใจ
กิจกรรมเพิ่มเติม อาจารย์สอนการบริหารสมอง(Brain Activation)
การบริหารสมอง (brain activation) หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ซึ่งเชื่อมสมอง ๒ ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง ๒ ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว
การบริหารปุ่มสมอง ปุ่มขมับ ปุ่มใบหู
►ปุ่มสมอง
ใช้มือซ้ายวางบริเวณใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้า จะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนัง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุมตื้นๆ ๒ ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ ๓๐ วินาที และให้นำมือขวาวางไปที่ตำแหน่งสะดือ
ขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย และจากพื้นขึ้นเพดาน จากนั้นให้เปลี่ยนมือด้านขวาทำเช่นเดียวกัน
ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง
♦ เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
♦ ช่วยสร้างให้ระบบการสื่อสารระหว่างสมอง ๒ ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
►ปุ่มขมับ
ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ
♦ เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
♦ ทำให้การทำงานของสมองทั้ง ๒ ซีกสมดุลกัน
► ปุ่มใบหู
ประโยชน์ของการกระตุ้นปุ่มใบหู
♦ เพื่อกระตุ้นหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
♦ สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น
การเคลื่อนไหวสลับข้าง (cross crawl)ท่าที่ ๑ นับ ๑-๑0
ประโยชน์ของการบริหารท่านับ ๑-๑๐
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นความจำ
ท่า จีบ L
ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
♦ เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
ท่าแตะจมูก-แตะหู
ประโยชน์ของการบริหารท่าแตะจมูก-แตะหู
♦ ช่วยให้มองเห็นภาพทางด้านซ้ายและขวาดีขึ้น
ท่าแตะหู
ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย แตะจมูก-แตะหู
♦ เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
♦ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
♦ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด
การผ่อนคลาย
ยืนใช้มือทั้ง ๒ ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ นาที
ยืนใช้มือทั้ง ๒ ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ นาที
ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย
♦ ทำให้เกิดสมาธิ เป็นการเจริญสติ